Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

My Friends

VDO

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 14

ความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจตะวันตกในการแข่งขันแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบกับการขยายตัวของลัทธิชาตินิยมในยุโรปที่รุนแรงมากขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีผลสืบเนื่องถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็นตามลำดับ
สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918)
สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรปและขยายเป็นสงครามโลก เนื่องจากมีประเทศในทวีปอื่น เช่น อเมริกาเหนือ และเอเชียเข้าร่วมในสงครามนี้
สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 1 การขยายตัวของลัทธิชาตินิยม การขยายลัทธิจักรวรรดินิยม การพัฒนาระบบพันธมิตรของประเทศยุโรปและการเติบโตของลัทธิทหารนิยม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
การขยายตัวของลัทธิชาตินิยม ลัทธิชาตินิยมในยุโรปขยายตัวอย่างรวดเร็วในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในแหลมบอลข่านที่ต้องการปกครองตนเองและเป็นอิสระจากอำนาจของจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน ประเทศที่ส่งเสริมกลุ่มชาตินิยมในแหลมบอลข่าน คือ เซอร์เบีย (Serbia)
การขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยม การแข่งขันขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจยุโรปในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศเหล่านั้นจนทำให้มีการแบ่งขั้วอำนาจที่ปรากฏในระบบพันธมิตรของยุโรป
ระบบพันธมิตรของยุโรป ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปรัสเซีย (Prussia) ได้พัฒนาเป็นจักรวรรดิเยอรมนีและผนึกกำลังชาติพันธมิตรเพื่อโดดเดี่ยวฝรั่งเศสซึ่งเป็นศัตรูและคู่แข่งสำคัญในการขยายลัทธิจักรวรรดินิยม ต่อมาได้เกิดระบบพันธมิตรของยุโรป คือกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Alliance) หรือกลุ่มมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย เยอรมณีและออสเตรีย – ฮังการี และกลุ่มไตรภาคี (Triple Entente) หรือฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย การแบ่งขั้วอำนาจในยุโรปทำให้แต่ละประเทศกล้าเผชิญหน้ากันเพราะต่างก็มีพันธมิตรหนุนหลัง
556
การเติบโตของลัทธิทหารนิยม ผู้นำประเทศในยุโรปต่างเชื่อว่าการสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่จะต้องใช้กำลังทหารสนับสนุนและทำสงครามขยายอำนาจ เช่น ปรัสเซียใช้วิธีการทำสงครามเพื่อขยายดินแดนฝรั่งเศส และเดนมาร์ก ส่วนอิตาลีก็ใช้กำลังสงครามรุกรานอบิสซิเนีย ดังนั้นรัฐบาลต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนากองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ อนึ่ง ความเข้มแข็งทางการทหารและการสนับสนุนจากกองทัพได้ทำให้ประเทศเหล่านั้นยินดีเข้าสู่สงคราม
ชนวนสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ 1914 กลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บ (Serb) ซึ่งต้องการปลดแอกจากจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการีได้ลอบสังหารมกุฎราชกุมารฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ (Archduke Franz Ferdinand) แห่งออสเตรีย ขณะเสด็จเยือนประเทศเซอร์เบีย ออสเตรีย – ฮังการียื่นคำขาดให้เซอร์เบียรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เซอร์เบียไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ อีกไม่กี่วันต่อมา ออสเตรีย – ฮังการีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนีจึงประกาศสงครามต่อเซอร์เบีย รัสเซียได้เข้าช่วยเซอร์รบ อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรของรัสเซียจึงเข้าร่วมรบด้วยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ในปีต่อมาอิตาลีก็เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร แม้จะเคยร่วมกลุ่มไตรพันธมิตรกับออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีมาก่อนก็ตาม ส่วนฝ่ายมหาอำนาจกลางก็มีจักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมกับออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนี ทำให้สงครามขยายไปทั่วยุโรป เอเชียและแปซิฟิก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 เกิดปฏิวัติในประเทศรัสเซีย และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบโซเวียตภายใต้อุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศทำให้รัสเซียถอนตัวจากสงคราม อย่างไรก็ตามสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ขยายวงออกไปอีก เพราะอีก 2 เดือนต่อมาสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วใกับฝ่ายพันธมิตร สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงในปลาย ค.ศ. 1918 โดยฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
586
ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ด้านการเมือง สงครามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญในยุโรป เพราะทำให้จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย มีประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออก แถบทะเลบอลติกและแหลมบอลข่าน เช่น ฮังการี เชคโกสโลวาเกีย โรมาเนีย บุลแกเรีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ฯลฯ พร้อมกันนั้นยังมีความพยายามก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เพื่อป้องกันสงครามและรักษาสันติภาพด้วย
ด้านเศรษฐกิจ สงครามทำให้ประเทศต่างๆ ประสบหายนะทางเศรษฐกิจ และจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างรีบด่วน โดยเฉพาะการผลิตสินค้าส่งออก แต่เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ขาดกำลังซื้อ จึงทำให้สินค้าขายไม่ออกและส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำที่ลุกลามไปทั่วโลก
ด้านสังคม สงครามทำให้ผู้คนเสียชีวิตและพิการมากกว่า 8 ล้านคน ประเทศต่างๆ ต้องเร่งฟื้นฟูสังคม นอกจากนี้ยังทำให้ลัทธิชาตินิยมขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่เป็นผู้แพ้สงคราม เช่น เยอรมนีซึ่งต่อมาได้ก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อแก้แค้นฝ่ายสัมพันธมิตร
สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945)
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลกระทบที่สืบเนื่่องจากสงครมโลกครั้งที่ 1 โดยเยอรมนีเป็นผู้เริ่มสงคราม สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ขยายสนามรบออกไปนอกยุโรปคือ แอฟริกา เอเชียและแปซิฟิก เป็นสงครามที่มีการประหัตประหารและทำลายล้างกันรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เยอรมนีส่งกองทัพบุกโปแลนด์ ดังนั้นอังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนี นับเป็นการเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประกอบด้วยฝ่ายพันธมิตร (Allied Nations) ซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ และฝ่ายอักษะ (Axis ซึ่งมีเยอรมนีและอิตาลีเป็นแกนนำ ต่อมาญี่ปุ่นได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะและเริ่มต้นสงครามมหาเอเชียบูรพาด้วยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล (Pearl Harbor) และยึดครองเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นและเข้าร่วมสงครามกกับฝ่ายพันธมิตร สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 โดยฝ่ายพันธมิตรได้รับชัยชนะ
564
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 สามารถวิเคราห์ได้จากทั้งฝ่ายอักษะและฝ่ายพันธมิตร ดังนี้
ฝ่ายอักษะ ลัทธิจักรวรรดินิยมผสมผสานกับลัทธิชาตินิยมเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งเสริมให้เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นทำสงครามขยายอำนาจครอบครองดินแดนโพ้นทะเลและทรัพยากรอันมั่งคั่ง อนึ่ง การที่ประเทศเหล่านี้มีแนวทางที่คล้ายคลึงกันคือ ต่างสนับสนุนลัทธิจทหารนิยมและการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ก็ทำให้สามารถรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรกัน รวมทั้งมีความมั่นใจในการก่อสงคราม
ฝ่ายพันธมิตร ปลายทศวรรษ 1930 เยอรมนีขยายอำนาจคุกคามดินแดนใกล้เคียง เช่น การผนวกแคว้นสุเดเตน (Sudeten) ของเชคโกสโลวาเกีย แต่ฝ่ายพันธมิตรกลับดำเนิน “นโยบายเอาใจ” (Appeasement Policy) โดยไม่มีปฏิกิริยาต่อต้าน เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงครามกับเยอรมนี จึงทำให้เยอรมนีได้ใจและบุกโปแลนด์ต่อไป จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามโลกครั้งที่ 2 ขยายพื้นที่สงครามครอบคลุมทวีป ทำให้เกิผลกระทบมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกด้าน
ด้านการเมือง สงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของโลกที่สำคัญคือ ดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราช มีประเทศเกิดใหม่ในเอเชียและแอฟริกาจำนวนมาก อำนาจของยุโรปเสื่อมลงจึงต้องผนึกกำลังเป็นสหภาพยุโรป (European Union) ในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาซึ่งช่วยกอบกู้สถานการณ์สงครามและนำชัยชนะให้กับฝ่ายพันธมิตรได้ขึ้นมาเป็นผู้นำโลก สหรัฐอเมริกาเข้าไปจัดระเบียบโลก และสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะการนำประชาคมโลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็นที่ส่งผลต่อชะตากรรมของมนุษยชาติในโลกปัจจุบัน
ด้านเศรษฐกิจ ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีมูลค่าที่ไม่อาจประเมินได้ ประเทศส่วนใหญ่ซึ่งรวมทั้งประเทศในยุโรปต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจนานนับ 10 ปีจึงฟื้นตัวได้ ทำให้มีการก่อตั้งองค์การทางการเงินระหว่างประเทศเพื่อช่วยบูรณะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เช่น ธนาคารโลก และ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (International MonetaryFund = IMF)
ด้านสังคม สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำลายล้างชีวิตผู้คนจำนวนมหาศาล มีผู้บาดเจ็บล้มตายในสงครามโลกครั้งที่ 2 มากกว่า 20 ล้านคน ทั้งยังทำให้เกิดการพลัดพรากในครอบครัว อนึ่ง สงครามโลกครั้งที่นี้ยังส่งผลกระทบต่อจริยธรรมและศีลธรรมของผู้คนในสังคมอย่างมาก เนื่องจากการมีการประหัตประหารกันอย่างโหดร้ายทารุณ และการใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างรุนแรงต่อมนุษยชาติ เช่น การที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูญี่ปุ่นที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) ในอีก 3 วันต่อมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทันทีมากกว่า 1 แสนคน055
สภาพเมืองฮิโรชิมา หลังจากสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณู
056


อนุภาคของระเบิดปรมาณูที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น
สงครามเย็น
สงครามเย็น (Cold War) เป็นศัพท์ใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หมายถึง ภาวะตึงเครียดระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ใช้วิธีการต่างๆ ในการต่อสู้ ยกเว้นการเผชิญหน้า จึงหวั่นเกรงกันว่าความตึงเครียดในสงครามเย็นอาจจะนำไปสู่ภาวะสงครามร้อนได้ และกลายเป็นสงครามโลกอีกครั้งหนึ่ง
ความขัดแย้งในสงครามเย็นปรากฏเด่นชัดใน ค.ศ. 1947 เมื่อประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน (Harry S. Truman) แห่งสหรัฐอเมริกาประกาศหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ซึ่งเป็นการประกาศต่อต้านการแทรกแซงใดๆ ต่อรัฐบาลที่ชอบธรรมในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะยุโรปตะวันออก กรีซ ตุรกีและอิหร่านซึ่งกำลังเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ เนื่องจากกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์ทำการจลาจลต่อต้านรัฐบาลของตน
058
สาเหตุของสงครามเย็น สงครามเย็นมีรากฐานมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศเสรีนิยมที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปตะวันตกกับสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจดังกล่าวเกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตและขยายเป็นสงครามเย็นในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆ เติบโตและส่งผลให้โลกถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโลกเสรีกับฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
วิกฤตการ์ณในสงครามเย็น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดวิกฤตต่างๆ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งและการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายโลกเสรีกับฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งสร้างความตึงเครียดและหวาดวิตกต่อประชาคมโลก ด้วยเกรงว่าเหตุวิกฤตนั้นจะนำไปสู่สงครามโลกครั้งใหม่ วิกฤตในสงครามเย็นที่สำคัญ เช่น
การปิดล้อมกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1948 – 1949 เป็นการปิดล้อมเบอร์ลินตะวันตกโดยฝ่ายเยอรมนีตะวันออกเพื่อกดดันเยอรมนีตะวันตก
การจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือองค์การนาโต (North Atlantic Treaty Organization = NATO) ค.ศ. 1949 เป็นการรวมกลุ่มทางทหารนำโดยสหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตรในเขตมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
106230969
สงครามเกาหลี ค.ศ. 1950 – 1953 เป็นสงครามระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาและกำลังอาสาสมัครของประเทศสมาชิกสหประชาติเข้าไปช่วยทำสงครามในเกาหลีใต้
korea15การรวมกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) ค.ศ. 1955 เป็นการรวมกลุ่มทางทหารระหว่างสหภาพโซเวียตและประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกเพื่อตอบโต้องค์การนาโต
สงครามเวียดนาม ค.ศ. 1960 – 1975 เป็นสงครามระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ที่สหรัฐอเมริกาส่งทหารเข้าไปรบกับพวกคอมมิวนิสต์เวียดนามซึ่งยึดเวียดนามเหนือ
105244วิกฤตการณ์ขีปนาวุธที่คิวบา ค.ศ. 1962 เป็นเหตุการณ์ที่สหภาพโซเวียตพยายามนำขีปนาวุธไปติดตั้งที่คิวบาซึ่งเป็นประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในลาตินอเมริกา สหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นการคุกคามต่อสหรัฐอเมริกาและทวีปอเมริกาโดยตรง จึงประกาศจะตอบโต้อย่างรุนแรง โซเวียตจึงยินยอมถอนขีปนาวุธกลับไป เพราะไม่ต้องการทำสงครามนิวเคลียร์กับสหรัฐอเมริกา
การผ่อนคลายและการสิ้นสุดขอสงครามเย็น การผ่อนคลายของสงครามเย็น (Detente) เริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เมื่อกลุ่มประเทศประชาธิปไตยและสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เริ่มหันหน้าเข้าหากัน เพื่อผ่อนคลายภาวะตึงเครียดของสงครามเย็นเนื่องจากต่างตระหนักว่า ไม่อาจปล่อยให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจรุนแรงเพิ่มมากขึ้นต่อไป เพราะจะนำไปสู่จุดแตกหักที่ส่งผลต่อสันติภาพของโลกได้ เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การผ่อนคลายและการสิ้นสุดของสงครามเย็นได้แก่
การปรับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากีบจีนคอมมิวนิสต์ ค.ศ. 1972 โดยประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ของสหรัฐอเมริกา เดินทางไปเยือนปักกิ่ง ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาค่อยๆ ถอนทหารออกจากเวียดนาม และทำให้สงครามเวียดนามยุติลง
53ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐอเมริกาเดินทางไปเยือน
และเข้าพบ เหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ค.ศ. 1972
การประชุมสุดยอดเบรซเนฟ – นิกสัน (Brezhnev’ – Nixon Summit 1972) ระหว่างนายกรัฐมนตรีเบรซเนฟของสหภาพโซเวียตและประธานาธิบดีนิกสันส่งผลให้มีการลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ 2 ครั้ง (Strategic Arms Limitation Talks = SALT) ใน ค.ศ. 1972 และค.ศ. 1979
นโยบายเปเรสทอยกาและกลาสนอส (Perestoika – Glasnos ค.ศ. 1985) เริ่มในสมัยของนายกรัฐมนตรีกอร์บาชอพ (Gorbachev) แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งประกาศปฏิรูปประเทศตามแนวทางประชาธิปไตยและเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ เป็นผลให้มีการผ่อนคลายความเข้มงวดของระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์โซเวียต ทำให้ประเทศในยุโรปตะวันออกมีอิสระในการกำหนดระบอบปกครองของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่เลือกวิถีทางเสรีประชาธิปไตย
การทำลายกำแพงเบอร์ลินและการรวมเยอรมนี ค.ศ. 1989 เยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกได้รวมประเทศทำให้การเผชิญหน้าอันยาวนานระหว่างยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออกยุติลง
ระบอบสหภาพโซเวียตล่มสลาย ค.ศ. 1991 ถือว่าเป็นการยุติสงครามเย็นที่ยาวนานและตึงเครียดหลังจากนั้นรัฐต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้ระบอบสหภาพโซเวียตก็แยกเป็นรัฐอิสระ ส่วนศูนย์ฏกางการปกครองสหภาพโซเวียตเดิมก็คือประเทศรัสเซียในปัจจุบัน
เหตุการณ์ความขัดแย้งของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่กล่าวมาข้างต้น มีความรุนแรงก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลต่อประชาคมโลก ทั้งยังมีผลกระทบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์เหล่านี้เป็นบทเรียนจากประวัติศาสตร์ที่ควรแก่การศึกษาและเผยแพร่เพื่อให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นต่อสังคมและมนุษยชาติในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น